วิธีการตอกเสาเข็ม                            Hotline: 086-924-6333

 เสาเข็มไมโครไพล์มีลักษณะการตอกโดยการนำเสาเข็มแต่ละท่อนมาเชื่อมต่อกัน เพื่อความสะดวกในการตอก และสะดวกในการขนส่ง ทั้งนี้ เสาเข็มที่นำมาเชื่อมต่อกันจะต้องมีลักษณะและขนาดของพื้นที่หน้าตัดเท่ากัน
     กรรมวิธีในการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ คือ จะทำการตอกเสาเข็มไมโครไพล์ท่อนแรกลงไปในดินจนเกือบมิดก่อน แล้วใช้ปั้นจั่นดึงเสาเข็มไมโครไพล์ท่อนต่อไปนำไปต่อกับเสาเข็มต้นที่ตอกไว้ให้สนิทแล้วทำการเชื่อม การเชื่อมจะต้องเชื่อมอย่างประณีตโดยรอบให้เสาเข็มไมโครไพล์ทั้งสองท่อนต่อกันอย่างสนิทและเป็นแนวเส้นตรง จากนั้นจึงใช้ปั้นจั่นตอกลงไปต่อ

     การตอกเสาเข็มไมโครไพล์ที่ลึกถึงระดับ จะดูการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดว่าจะเสร็จสิ้นเรียบร้อยได้ผลตามมาตรฐานที่กำหนดไว้หรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มไมโครไพล์ตอกจมมิดลงไปในดินเท่านั้น แต่จะต้องดูจำนวนครั้งในการตอกด้วยซึ่งเรียกว่า "Blow Count" ว่าเสาเข็มไมโครไพล์แต่ละต้นใช้จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็มไมโครไพล์จมมิดดิน

     ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความหนาแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการับน้ำหนักยังมีไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มไมโครไพล์และตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด

     ในทางตรงกันข้ามถ้าจำนวนครั้งในการตอกมีมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มไมโครไพล์ที่ตอกนั้น จะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องต่อลงไปอีก เพราะจะฝืดและถ้าตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มไมโครไพล์แตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็มไมโครไพล์แต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดและสภาพของดิน ขนาดของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็มไมโครไพล์

Visitors: 51,190