ความรู้เกี่ยวกับเสาเข็มไมโครไพล์             Hotline: 086-924-6333

   
  

 ความรู้เกี่ยวกับเสาเข็มให้ผู้ที่สนใจใช้ประกอบการพิจารณาและศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเลือกใช้เสาเข็มได้ตรงกับความต้องการของท่าน

เสาเข็มไมโครไพล์ (Micropile)

     เสาเข็ม Micropile เหมาะสำหรับงานสร้างบ้านใหม่ ต่อเติมอาคาร, ต่อเติมบ้าน ปรับปรุงฐานรากที่ไม่มั่นคงเกิดการทรุดตัว, สร้างโรงงานใหม่ที่ต้องการความมั่นคงแข็งแรงสูง, สร้างตึก, สร้างอาคาร ควรเลือกใช้งานเสาเข็ม Micropile ที่มีคุณภาพ ทนทาน แข็งแรง เพื่อความปลอดภัยของลูกค้าโดยผ่านการรับรองจากวิศกร

     เสาเข็ม Micropile เป็นเสาเข็มที่น่าจะตอบโจทก์ให้กับลูกค้าหลายประเภทที่กำลังมองหาเสาเข็มที่มีคุณสมบัติ รับน้ำหนักได้มาก แข็งแรงทนทาน หากลูกค้าเลือกใช้งานเสาเข็ม Micropile ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน รับประกันความปลอดภัยจากการใช้งาน ไม่ว่าเวลาผ่านไปนาน โครงสร้างที่ตอกด้วยเสาเข็ม Micropile ก็จะยังคงอยู่ ยังคงรับน้ำหนักได้ดี ปลอดภัย ลูกค้าจึงควรเลือกใช้ เสาเข็ม Micropile 
  

เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (prestressed concrete pile)

     เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงเป็นเสาเข็มที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับอาคารพานิชย์และบ้านพักอาศัยทั่วไปเป็นเสาคอนกรีตที่ทำจากปูนซีเมนต์ชนิดแข็งตัวเร็วและโครงเหล็กภายในทำจากลวดเหล็กอัดแรงกำลังสูง กรรมวิธีที่ใช้ในการลงเสาเข็มจะเป็นการตอกกระแทกลงไปในดินโดยใช้ปั้นจั่นซึ่งเป็นกรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อนและประหยัดค่าใช้จ่าย
เสาเข็มคอนกรีตอัดแรงสามารถแบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกตามรูปร่างลักษณะของเสาเข็ม ที่ใช้กัน แพร่หลาย ได้แก่
     1. เสาเข็มสี่เหลี่ยมชนิดกลวง
     2. เสาเข็มสี่เหลี่ยมตัน
     3. เสาเข็มรูปตัวไอ
     4. เสาเข็มรูปตัวที
        ชนิดเสาเข็มที่ใช้สำหรับรับน้ำหนักของตัวบ้านโดยทั่วไปจะเป็นเสาเข็ม รูปตัวไอส่วนขนาดและความยาวนั้นขึ้นอยู่กับวิศวกรผู้ออกแบบเป็นผู้กำหนด ส่วนเสาเข็มหกเหลี่ยมหรือแปดเหลี่ยมชนิดกลวงหรือเสาเข็มรูปตัวทีนั้นมักจะใช้กับงานโครงสร้างที่เล็กกว่าหรือการรับน้ำหนักน้อยกว่า เช่น งานฐานราก ของรั้ว
 

เสาเข็มเจาะ (bored pile)

     เสาเข็มเจาะเป็นเสาเข็มอีกประเภทหนึ่งซึ่งแตกต่างจากเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงในลักษณะของการใช้งานกรรมวิธีในการทำเสาเข็มเจาะค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนและจะต้องทำสถานที่ที่จะใช้งานจริงเลยโดยใช้เครื่องมือเจาะขุดดินลงไปให้ได้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางและความลึกของเสาเข็มตามที่กำหนดจาก นั้นจึงจะใส่เหล็กเสริมและเทคอนกรีตลงไปเพื่อหล่อเป็นเสาเข็ม

     เสาเข็มเจาะสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆตามขนาดของเสาเข็มและกรรมวิธีที่ใช้ อันได้แก่

     1. เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก 
        เสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 35-60 เซนติเมตร (ส่วนใหญ่จะเป็น ขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง 35, 40, 50, 60 เซนติเมตร) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 18-23 เมตร กรรมวิธีที่ใช้ในการเจาะมักจะเป็นแบบแห้ง (Dry Process) ซึ่งเป็นการขุดเจาะโดยใช้เครื่องมือขุดเจาะ ลงไปตามธรรมดา


     2. เสาเข็มเจาะขนาดใหญ่ 
        เสาเข็มเจาะที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 60 เซนติเมตรขึ้นไป (ส่วนใหญ่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 80, 100, 120, 150 เซนติเมตร) มีความลึกอยู่ในช่วงประมาณ 25-65 เมตร กรรมวิธีที่ในการเจาะมักจะเป็นระบบเปียก (Wet Process) ซึ่งแตกต่างจากระบบแห้ง คือจะต้องเพิ่ม ขั้นตอนในการฉีดสารเคมีเหลวซึ่งเรียกว่า Bentonite Slurry ลงไปในหลุมที่ทำการขุดเจาะ โดยเฉพาะ หลุมที่มีความลึกมากๆ ถึงชั้นทรายหรือหลุมที่มีน้ำใต้ดิน ทั้งนี้ เพื่อสร้างแรงดันในหลุมที่เจาะและยึดประสานผิวดินในหลุมเพื่อป้องกันมิให้ผนังหลุมที่เจาะพังทลายลงมา

Visitors: 51,187